วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อาชีพเด็ด AEC : นักสำรวจ


                 แล้วก็มาถึงอาชีพฮอตอีกอาชีพหนึ่งของอาเซียนนั่นคือ นักสำรวจหรือช่างสำรวจ ก่อนอื่นต้องตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า ทนแดด ทนฝน ทนร้อน ทนหนาวได้ขนาดไหน ชอบปีนป่ายบุกป่าฝ่าดงหรือไม่ เพราะอาชีพนี้ต้องอยู่กลางแจ้งเสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังต้องมีความละเอียดรอบคอบ ถ้าชอบตัวเลขและชอบวัดค่าหาพิกัดล่ะก็มาเลย เพราะอาชีพนี้คือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความละเอียดแม่นยำและเทคนิคด้าน การวัดมุม วัดระยะ วัดระดับ ลักษณะและขนาดของภูมิประเทศช่วยหาค่าพิกัดของจุดตำแหน่งต่างๆ วางหมุดหลักฐานหรือที่หมายในการสำรวจ ทำบันทึกข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่ได้จากการสำรวจ ซ่อมรับแก้เครื่องมือสำรวจ นอกจากนี้ยังต้องทำแผนที่สำรวจและแผนภูมิงานก่อสร้าง งานเหมือนแร่ ฯลฯ ซึ่งต้องลงสนามมากกว่าทำงานนั่งโต๊ะ อาชีพนี้ต้องเรียนจบมาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์สาขาอุตสาหกรรมหรือโยธาก็ได้

                  ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ Bali Concord II ซึ่งได้มีการกำหนดให้จัดทำความตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลักภายในปี 2551 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ/แรงงานเชี่ยวชาญ/ผู้มีความ สามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ทั้งนี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการลงนามข้อตกลง MRA สาขาสถาปัตยกรรมและกรอบข้อตกลงการยอมรับในคุณสมบัติด้านการสำรวจ เมื่อปี 2550

                    MRA ในคุณสมบัติด้านการสำรวจ (Surveying  Qualifications) มีหลักการคือ กำหนดแนวทางเพื่อใช้เป็นพื้นฐาน โดยวางหลักเกณฑ์พื้นฐานประกอบด้วยหลักเกณฑ์เรื่อง การศึกษา การสอบ ประสบการณ์ กระบวนการให้การยอมรับ ระบบข้อมูลเอกสาร ระเบียบวินัยและหลักจริยธรรม มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล ในส่วนของประเทศไทยองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลการประกอบการ บริการด้านสำรวจและขึ้นทะเบียน/ออกใบอนุญาตนักสำรวจ คือ สภาวิศวกร





                      แม้จะเป็นแค่กรอบ ยังไม่ใช่ข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัติของวิชาชีพสำรวจ แต่ก็เป็นการวางแนวทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าไปทำงานในวิชาชีพนี้ใน อนาคต เมื่อสมาชิกอาเซียนใดมีความพร้อมก็สามารถเข้าร่วมเจรจายอมรับคุณสมบัติของ กันและกันได้โดยใช้กรอบข้อตกลงเป็นพื้นฐานในการเจรจา โดยในระหว่างนี้ประเทศอาเซียนที่ยังไม่พร้อมก็สามารถศึกษากรอบข้อตกลง และใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมของตนทั้งในแง่การส่งบุคลากรออกไปและ การรับมือกับบุคลากรจากอาเซียนอาจจะเข้ามาทำงานในบ้านเรา เป็นการกำหนดแนวทางเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อตกลงยอมรับร่วมใน คุณสมบัติด้านการสำรวจในอนาคตของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย โดยวางหลักเกณฑ์พื้นฐานสำหรับการยอมรับ ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์เรื่อง การศึกษา การสอบ ประสบการณ์ กระบวนการให้การยอมรับ ระบบข้อมูลเอกสาร ระเบียบวินัยและหลักจริยธรรม มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล

                       ข้อตกลง ยอมรับร่วมในคุณสมบัติด้านการสำรวจ ที่จะจัดทำขึ้นในอนาคตจะต้องไม่ลดทอนสิทธิ อำนาจ หน้าที่ของสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศในการกำกับดูแล และออกกฎ ระเบียบ หรือกฎหมายภายใน และต้องไม่สร้างอุปสรรคที่เกินจำเป็น ส่วนการออกใบอนุญาตและการขึ้นทะเบียนของนักสำรวจอาเซียนจะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบภายในของแต่ละประเทศด้วย  เพราะแต่ละประเทศก็มีหลักเกณฑ์ต่างๆ ไม่เหมือนกัน ผู้ที่ทำหน้าที่กำกับดูแล หน่วยงานที่รับผิดชอบสาขาการสำรวจก็ต่างกัน นอกจากนี้กรอบข้อตกลงได้กำหนดกรอบการดำเนินการและขอบเขตความรับผิดชอบเอาไว้ ด้วย ใครที่สนใจอยากเป็นนักสำรวจของอาเซียนสามารถเข้าไป




แหล่งที่มาของบทความ

http://kbeautifullife.askkbank.com/education/Pages/education_events_detail.aspx?TID=100


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น