วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

นวัตกรรมของดาวเทียม


"ดาว เทียม" สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้งานทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่น การสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ, โลก, ดวงอาทิตย์, ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ ดวงดาว และดาราจักรต่างๆ
ดาวเทียมโคจรโดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ทำให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์วงโคจรของดาวเทียม แบ่งตามระยะความสูงจากพื้นโลก 3 ระยะ ได้แก่

1.วงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit "LEO") คือระยะสูงจากพื้นโลกไม่เกิน 1,000 ก.ม.
ใช้ ในการสังเกตการณ์, สำรวจสภาวะแวดล้อม, ถ่ายภาพ ไม่สามารถใช้งานครอบคลุมบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้ตลอดเวลา เพราะมีความเร็วในการเคลื่อนที่สูง

2.วงโคจรระยะปานกลาง (Medium Earth Orbit "MEO") อยู่ที่ระยะความสูงตั้งแต่ 1,000 ก.ม.ขึ้นไป ส่วนใหญ่ใช้ในด้านอุตุนิยมวิทยา และใช้ในการติดต่อสื่อสารเฉพาะพื้นที่
แต่หากจะติดต่อให้ครอบคลุมทั่วโลกจะต้องใช้ดาวเทียมหลายดวงในการส่งผ่าน

3.วง โคจรประจำที่ (Geostationary Earth Orbit "GEO") เป็นดาวเทียมเพื่อการสื่อสารเป็นส่วนใหญ่ อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,780 ก.ม. เส้นทางโคจรอยู่ในแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Orbit)
จะหมุนรอบโลกด้วยความเร็วเชิงมุมเท่ากับโลกหมุนรอบตัวเอง ทำให้ดูเหมือนลอยนิ่งอยู่เหนือจุดๆ หนึ่งบนโลกตลอดเวลา

วงโคจรพิเศษนี้เรียกว่า "วงโคจรค้างฟ้า"

ส่วน ใหญ่ใช้ในการสื่อสารระหว่างประเทศและภายในประเทศ เช่น ดาวเทียมอนุกรม อินเทลแซต ดาวเทียมปาลาปา ของประเทศอินโดนีเซีย และดาวเทียมไทยคม ของประเทศไทยประเทศไทยเริ่มใช้ดาวเทียมสื่อสารครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510การสื่อสารแห่งประเทศไทยตั้งสถานีภาคพื้นดินที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เช่าช่องสัญญาณ 13 ช่องสัญญาณ เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศปัจจุบันประเทศไทยใช้ดาวเทียมไทยคมเป็นดาวเทียมสื่อสาร มีทั้งหมด 5 ดวง ได้แก่
1.ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ตั้งแต่เดือนมิ.ย. พ.ศ.2540
2.ไทยคม 2 เป็นดาวเทียมรุ่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก
3.ไทย คม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัด 78.5 องศาตะวันออก ปลดระวางเมื่อเดือนต.ค. พ.ศ.2549 เพราะมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้าไม่พอ
4.ไทยคม 4 หรือไอพีสตาร์ โคจรบริเวณพิกัด 120 องศาตะวันออก เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน
5.ไทย คม 5 เป็นดาวเทียมที่ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเพื่อทดแทนไทยคม 3 ถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมตรงถึงที่พักอาศัย และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง

ศ.ดร.ถวิล พึ่งมา สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ระบุว่า วงโคจรดาวเทียมจะถูกกำหนดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ซึ่งจะประชุมร่วมกันทุกปี

ส่วนช่องสัญญาณดาวเทียมจะมีกี่ช่องก็ได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับทรานสปอนเดอร์ (Transponder) หรือช่องสัญญาณรับส่งบนดาวเทียมดวงนั้นๆ ยก ตัวอย่าง 1 ดาวเทียมมี 10 ทรานสปอนเดอร์ 1 ทรานสปอนเดอร์ มีประมาณ 1,000 ช่องเสียง จึงต้องเอาหลายร้อยช่องเสียงมารวมกันเป็น 1 ช่องทีวี



 แหล่งที่มาของบทความ

http://www.atcloud.com/stories/85571

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น