ความหมายของรีโมตเซนซิง
รีโมตเซนซิง (Remote Sensing) หรือการสำรวจข้อมูลระยะไกล (การรับรู้ระยะไกล) เป็นศัพท์เทคนิคที่ใช้เป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาใน พ.ศ.2503 หมายถึง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงหนึ่ง ที่บันทึกคุณลักษณะของวัตถุ (Object) หรือปรากฎการณ์ (Phenomena) ต่างๆ จากการสะท้อนแสง/หรือ การแผ่รังสีพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Energy) โดยเครื่องวัด/อุปกรณ์บันทึกที่ติดอยู่กับยานสำรวจ การใช้รีโมตเซนซิงเริ่มแพร่หลายนับตั้งแต่สหรัฐอเมริกาได้ส่งดาวเทียมสำรวจ ทรัพยากรดวงแรก LANDSAT-1 ขึ้นใน พ.ศ.2515 เราสามารถหาคุณลักษณะของวัตถุได้จากลักษณะการสะท้อนหรือการแผ่พลังงานแม่ เหล็กไฟฟ้าจากวัตถุนั้น ๆ คือ “วัตถุแต่ละชนิด จะมีลักษณะการสะท้อนแสงหรือการแผ่รังสีที่เฉพาะตัวและแตกต่างกันไป ถ้าวัตถุหรือสภาพแวดล้อมเป็นคนละประเภทกัน” คุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูลใน 3 ลักษณะ คือ ช่วงคลื่น(Spectral) รูปทรงสัณฐานของวัตถุบนพื้นโลก (Spatial) และการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา (Temporal) รีโมตเซนซิงจึงเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการจำแนก และเข้าใจวัตถุหรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ จากลักษณะเฉพาะตัวในการสะท้อนแสงหรือแผ่รังสีข้อมูลที่ได้จากการสำรวจระยะไกล ในที่นี้จะหมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการถ่ายภาพทางเครื่องบินในระดับต่ำ ที่เรียกว่า รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photo) และข้อมูลที่ได้จากการบันทึกภาพจากดาวเทียมในระดับสูงกว่า เรียกว่า ภาพถ่ายจากดาวเทียม (Satellite Image)การสำรวจ ทางภูมิศาสตร์ (geographic surveying) โดยทั่วไปอาจแบ่งได้เป็น 2 แบบหลัก คือ
1. การสำรวจในสถานการณ์จริง (in situ measurement) และ
สำหรับชื่อเรียกคำนี้ใน ภาษาไทย ที่นิยมใช้กันมาก มีอยู่ 3 แบบ คือ
1. การรับรู้จากระยะไกล
(ราชบัณฑิตฯ) 2.
การสำรวจข้อมูลจากระยะไกล
3. การตรวจวัดข้อมูลจากระยะไกล 4.
โทรสัมผัส
คำจำกัดความของ
“Remote Sensing”
สำหรับ คำจำกัดความ ของคำนี้ ที่เป็น ภาษาไทย มีเช่น
- วิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับ วัตถุ พื้นที่ หรือ ปรากฏการณ์จาเครื่องบันทึกข้อมูลโดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมายทั้งนี้โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูล (สุรชัย รัตนเสริมพงศ์ 2536)
คำจำกัดความของ “Remote Sensing”
สำหรับคำจำกัดความซึ่งเป็น ภาษาอังกฤษ ของ คำว่า “Remote Sensing”มีอาทิเช่น
1. The acquisition of physical data of an object without touch or contact. (กว้างที่สุด)
สำหรับ คำจำกัดความ ของคำนี้ ที่เป็น ภาษาไทย มีเช่น
- วิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับ วัตถุ พื้นที่ หรือ ปรากฏการณ์จาเครื่องบันทึกข้อมูลโดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมายทั้งนี้โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อในการได้มาของข้อมูล (สุรชัย รัตนเสริมพงศ์ 2536)
คำจำกัดความของ “Remote Sensing”
สำหรับคำจำกัดความซึ่งเป็น ภาษาอังกฤษ ของ คำว่า “Remote Sensing”มีอาทิเช่น
1. The acquisition of physical data of an object without touch or contact. (กว้างที่สุด)
2. Science of acquiring, processing and
interpreting images that record the
interaction between electromagnetic energy and matter.
3. The instrumentation, techniques and methods to observe the Earth’s surface at
interaction between electromagnetic energy and matter.
3. The instrumentation, techniques and methods to observe the Earth’s surface at
a distance and to
interpret the images or numerical values obtained in order to
acquire meaningful information of particular object on Earth.
4. Science and art of obtaining information
about an object, area, or phenomenon
through the analysis of
data acquired by a device that is not in contact with the
object, area or phenomenon under investigation.
object, area or phenomenon under investigation.
องค์ประกอบที่สำคัญของการสำรวจข้อมูลระยะไกล คือ คลื่นแสง ซึ่งเป็นพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ว่าเป็นพลังงานที่ได้จากดวงอาทิตย์ หรือเป็นพลังงานจาก ตัวเอง ซึ่งระบบการสำรวจข้อมูลระยะไกลโดยอาศัยพลังงานแสงธรรมชาติ เรียกว่า Passive Remote Sensing ส่วนระบบบันทึกที่มีแหล่งพลังงานที่สร้างขึ้นและส่งไปยัง วัตถุเป้าหมาย เรียกว่า Active Remote Sensing เช่น ระบบเรดาร์ เป็นต้น
ระบบรีโมทเซนซิง ถ้าแบ่งตามแหล่งกำเนิดพลังงานที่ก่อให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มี 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. Passive remote sensing เป็น
ระบบที่ใช้กันกว้างขวางตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน โดยมีแหล่ง
พลังงานที่เกิดตามธรรมชาติ คือ
ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานระบบนี้จะรับและบันทึกข้อมูลได้ส่วนใหญ่ใน
เวลากลางวันและมีข้อจำกัดด้านภาวะอากาศไม่สามารถรับข้อมูลได้ในฤดูฝนหรือ
เมื่อมีเมฆหมอก
ฝน
2. Active remote sensing เป็น
ระบบที่แหล่งพลังงานเกิดจากการสร้างขึ้นในตัวของเครื่องมือสำรวจ เช่น
ช่วงคลื่นไมโครเวฟที่สร้างในระบบเรดาห์แล้วส่งพลังงานนั้นไปยังพื้นที่เป้า
หมาย ระบบนี้สามารถทำการรับและบันทึกข้อมูลได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา
หรือ
ด้านสภาวะภูมิอากาศคือสามารถรับส่งสัญญาณได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอีกทั้ง
ยังสามารถทะลุผ่านกลุ่มเมฆหมอก ฝนได้ในทุกฤดูกาลในช่วงแรกระบบ passive remote sensing ได้รับการพัฒนามาก่อนและยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ส่วนระบบ active remote sensing มี
การพัฒนาจากวงการทหารแล้วจึงเผยแพร่เทคโนโลยีนี้ต่อกิจการพลเรือนในช่วงหลัง
การสำรวจในด้านนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นโดยเฉพาะกับประเทศในเขตร้อนที่มี
ปัญหาเมฆ หมอก ปกคลุมอยู่เป็นประจำแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพ
http://203.155.220.118/gisforeveryone/remote_sensing/basic_rs_n.html
http://www.gotoknow.org/file/supet-gis2me/view/33670
http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2641&t=%CA%D8%B4%C2%CD%B4%E0%B7%A4%E2%B9%E2%C5%C2%D5
http://yingpew103.wordpress.com/2013/01/18/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%A3/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น