วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

นักวิชาการภูมิศาสตร์ มช. ระบุไทยมีโอกาสเผชิญ คลื่นความร้อน เหมือนแดนจิงโจ้




นักวิชาการภูมิศาสตร์ มช. ระบุไทยมีโอกาสเผชิญ คลื่นความร้อน เหมือนแดนจิงโจ้ แต่โอกาสน้อย
นายชาคริต โชติอมรศักดิ์ นักวิชาการภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) กล่าวถึงกรณีคลื่นความร้อน (heat wave) ที่ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับผลกระทบจำนวนมาก ทั้งนี้ จากกรณีดังกล่าว สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้มว่าอากาศจะร้อนขึ้นใน 1-2 ปีข้างหน้า แต่จะไม่ใช่การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในลักษณะที่สูงขึ้นแบบเฉียบพลันรุนแรง หากเทียบกับปีที่ผ่าน ๆมา อย่างไรก็ตาม โอกาสจะเกิดภาวะคลื่นความร้อนเหมือนออสเตรเลีย ในประเทศไทยนั้น มีโอกาสที่จะเป็นไปได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกิดขึ้นหลายอย่างประจวบเหมาะพร้อมกัน ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ
ทั้งนี้ การที่จะเกิดคลื่นความร้อนอย่างที่ประเทศ ออสเตรเลีย จะต้องมีปัจจัยเอื้อคือเกิดสภาพอากาศที่ร้อนจัดอุณหภูมิสูงปกคลุมภาคพื้น ทวีปมากกว่า 42 องศาเซลเซียสติดต่อกันนานหลายวัน ประกอบกับต้องมีความชื้นสูง จากทะเลจีนใต้ หรืออันดามันมา แผ่เข้ามาปกคลุม ซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นความร้อนในพื้นที่นั้น ๆได้ ลักษณะของคลื่นความร้อนคือ เหมือนกับว่า เรานำผ้าห่มที่ร้อนจัดมาปกคลุมบรรยากาศไว้ และหากเกิดภาวะดังกล่าว สิ่งที่ประชาชนจะแก้ปัญหาได้ในขณะนั้นคือ หลบเข้าไปอยู่ในสภาพที่ปรับอากาศ เช่นห้องแอร์ที่มีการควบคุมอุณหภูมิคงที่ ให้เย็นลงมา ก็จะทำให้สภาพร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้
นายชาคริต กล่าวอีกว่า ขณะนี้นักวิชาการจากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ได้มีการร่วมกันทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้ แบบจำลอง ซึ่งมีการทำแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ระยะเวลาในการศึกษารวม 2 ปี
ขณะนี้ได้ศึกษาวิจัยไปแล้วปีครึ่ง เหลือระยะเวลาอีกครึ่งปี จึงจะได้ผลสรุปที่ชัดเจน ซึ่งหากการศึกษาแล้วเสร็จ จะสามารถบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน 30 ปีข้างหน้าตั้งแต่ พ.ศ.2553-2583 ได้ว่าจะมีอุณหภูมิสูงสุดต่ำสุดเท่าไหร่ ค่าอากาศจะร้อนมากขึ้นหรือไม่ ความแปรปรวนของฝนจะเป็นอย่างไรฯลฯ ซึ่งขณะนี้ทีมนักวิชาการอยู่ระหว่างศึกษายังไม่ได้ผลสรุป



แหล่งที่มาของบทความ


http://news.sanook.com/195412/นักวิชาการภูมิศาสตร์มช.ระบุไทยมีโอกาสเผชิญ-คลื่นความร้อน/


การใช้ Remote Sensing เพื่อการศึกษาพืช


การใช้ Remote Sensing เพื่อการศึกษาพืช






แหล่งที่มาของข้อมูล


http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=3&cad=rja&uact=8&ved=0CCkQFjAC&url=http%3A%2F%2Frss.shareinformation.info%2Fecartupload%2F71_V15_N05_76.pdf&ei=GNx1VPTCGYOuuQSo_4HABQ&usg=AFQjCNEc_lJHuQiekOtxTQk3suLBVdI-CQ&sig2=NFANhm9aeHw3cGfKwkzKWA

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ผอ.เทคโนโลยีอวกาศฯ แนะใช้ "รีโมทเซนซิง" คู่ "จีไอเอส" เชื่อไทยไปไกลแน่

ผอ.เทคโนโลยีอวกาศฯ แนะใช้ รีโมทเซนซิง คู่ จีไอเอส เชื่อไทยไปไกลแน่



ผอ.สนง.เทคโนโลยี อวกาศฯ ชี้เทคโนโลยีรีโมทเซนซิงของไทยมีทิศทางที่ดีเพราะรัฐหนุนอย่างเต็มที่ และหากนำมาใช้ควบคู่กับ "จีไอเอส" ที่มีอยู่เดิม จะช่วยแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ได้มากมาย และอีกไม่กี่เดือนไทยกำลังจะก้าวเข้าเป็นสมาชิกองค์กรด้านอวกาศระดับโลก
     
       ดร.สุวิทย์ วิบูลย์เศรษฐ์ ผอ.สำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ(สทอภ.) แสดงปาฐกถาหัวข้อ “สถานภาพทิศทางอนาคตเทคโนโลยีรีโมทเซนซิง (Remote Sensing) และภูมิสารสนเทศของไทย” ในงาน EIT Dinner Talk เมื่อเร็วๆ นี้ ณ สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท) โดยมีการถ่ายทอดภาพและเสียงวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ (Video Conference) จากห้องประชุมอาคาร ว.ส.ท. กรุงเทพฯ ไปยังเชียงใหม่ ขอนแก่นและสงขลา
     
       ในการปาฐกถา ดร.สุวิทย์ได้กล่าวว่า ในปัจจุบันเราได้ใช้ข้อมูลด้านภูมิสารสนเทศมากขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีรีโมท เซนซิงในการผลิตข้อมูลภูมิสารสนเทศ หรือจีไอเอส (GIS-Geographic Information Systems) ซึ่งเป็นข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ที่ใช้เพื่อการบริหาร การออกแบบและการตัดสินใจ ประกอบด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย
     
       ทั้งนี้เทคโนโลยีรีโมทเซนซิง คือเทคโนโลยีที่ใช้รับรู้ข้อมูลระยะไกล แล้วนำไปบริหารเพื่อการออกแบบและตัดสินใจในด้านต่างๆ โดยอาศัยหลักการสะท้อนแสงหรือการแผ่รังสีของวัตถุแต่ละชนิดที่เฉพาะตัวและ แตกต่างกัน รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่แตกต่างด้วย เป็นเทคโนโลยีที่ในปัจจุบันใช้กับดาวเทียมเพื่อการศึกษาสภาพภูมิศาสตร์
     
       “ในอดีตเรายังไม่มีเทคโนโลยีรีโมท เซนซิง มีเพียงข้อมูลเชิงบรรยาย เมื่อน้ำท่วมจึงบอกได้แค่ว่าน้ำท่วมที่ไหน อำเภออะไร จังหวัดอะไร กี่หมื่นไร่ แต่ขอบเขตอยู่ไหน บริเวณภูเขาหรือแม่น้ำไม่ทราบ การมีข้อมูลเชิงพื้นที่ช่วยให้การตัดสินใจเข้าช่วยเหลือไปถึงบริเวณที่ต้อง การจริงๆ การทำงานพร้อมกันทั้ง 2 ข้อมูลจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการ” ดร.สุวิทย์กล่าว
     
       นอกจากนี้ ระหว่างการปาฐกถา ดร.สุวิทย์ยังได้นำภาพถ่ายดาวเทียมมาแสดง ซึ่งเป็นลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น การทำแผนที่เพื่อการวางผังเมือง การศึกษาความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ หรือแม้แต่การไปใช้ในการเกษตรเพื่อบ่งชี้ความสมบูรณ์ของพื้นที่ว่าเหมาะแก่ การเพาะปลูกหรือไม่ โดยในปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐนำข้อมูลภูมิ สารสนเทศไปใช้ประโยชน์กว่า 100 หน่วยงาน ใช้งบประมาณไปกว่า 300 ล้านบาทต่อปี แต่หากมีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานโดยใช้ข้อมูลร่วมกันมากขึ้นกว่านี้ จะสามารถลดค่าใช้จ่ายลงไปได้มาก
       

       “ที่ผ่านมามีความซ้ำซ้อนในการทำ งานอยู่มาก มีหน่วยงานนี้อยู่แล้ว ทำงานนี้อยู่แล้ว พอมีหน่วยงานใหม่ก็ทำงานในลักษณะเดียวกันอีก ขาดความร่วมมือประสานกัน มาตรฐานก็ไม่ค่อยมีต่างคนต่างมีมาตรฐาน มันก็ทำให้เข้ากันไม่ได้ และข้อมูลพื้นฐานที่สมบูรณ์และถูกต้องก็ไม่ค่อยมี นอกจากนี้การเข้าถึงข้อมูลยากเพราะทุกคนถือว่าข้อมูลเป็นของฉัน ฉันได้รับงบประมาณมา ฉันไปสำรวจข้อมูลมาเพราะฉะนั้นข้อมูลเป็นของฉัน” ดร.สุวิทย์ระบุถึงปัญหาที่พบ
     
       พร้อมกันนี้ ผอ.สทอภ. ยังได้แนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวว่า ต้องบูรณาการขั้นตอนการทำงานและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่แห่งชาติ (NSDI: National Spatial Data Infrastructure) เพื่อให้มีข้อมูลที่เป็นมาตรฐานและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ทางรัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือโดยให้เป็นนโยบายระดับชาติและผลักดันให้แต่ละ หน่วยงานมีความร่วมมือกัน สำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่แห่งชาตินั้น สหรัฐอเมริกาเพิ่งทำสำเร็จไปเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ประเทศที่ร่ำรวยหลายประเทศก็กำลังทำอยู่ เราจึงไม่จำเป็นต้องรีบร้อนแต่ก็ควรมีทิศทางที่ถูกต้อง
     
       ส่วนอนาคตเทคโนโลยีอวกาศของไทยนั้น เรากำลังจะเป็นสมาชิกองค์กรด้านอวกาศระดับโลก ใน "คณะกรรมการใช้อวกาศส่วนนอกในทางสันติ" (Committee on the Peaceful Uses of Outer Space) ซึ่ง ผอ.สทอภ. ชี้ว่า นับเป็นเรื่องสำคัญมาก โดยไทยได้รับอนุมัติให้เป็นสมาชิกแล้ว และจะเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์เมื่อได้การรับรองอย่างเป็นทางการจากสมัชชาสห ประชาชาติในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมที่จะถึงนี้ และต่อไปจะผลักดันให้ประชาชนทุกระดับรู้จักเทคโนโลยีนี้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ว่าฯ ซีอีโอที่ต้องรู้จักและสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ในการบริหารราชการ ระดับท้องถิ่นได้
     
       “ท่านนายกบอกว่าต่อไปนี้ผู้ว่าราชการเมื่อรับตำแหน่งเป็นผู้จังหวัดนี้แล้ว แรกสุดเลยต้องนำภาพถ่ายดาวเทียมของจังหวัดนี้มาดู เพื่อรู้ว่าจังหวัดเราที่ไหนเป็นป่าไม้ ที่ไหนเป็นเกษตร ที่ไหนสูงๆ ต่ำ ๆ ถ้าไม่รู้เราจะเป็นผู้ว่าได้ไง” ดร.สุวิทย์อ้างถึงคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในการประชุม ครม.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมทั้งกล่าวทิ้งท้ายว่า ต้องการให้มีการใช้เทคโนโลยีนี้ในทางวิศวกรรมมากขึ้นเพราะที่ผ่านมามีการนำไปใช้ในด้านวิศวกรรมค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่ใช้ไปกับการเกษตร
       

       สำหรับงาน EIT Dinner Talk นี้จัดขึ้นโดยสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) เพื่อเป็นสื่อกลางในการนัดพบปะสังสรรค์ระหว่างวิศวกรไทยทั่วประเทศ ทุกวันพฤหัสที่ 2 และ 4 ของเดือน ผู้สนใจทั่วไปก็สามารถเข้าร่วมประชุมสัมมนาได้ ซึ่ง นายต่อตระกูล ยมนาค นายกสมาคม ว.ส.ท. เปิดเผยว่า การ ประชุมครั้งนี้มีความพิเศษตรงที่เป็นการประชุมแบบเทเลคอนเฟอร์เรนซ์เป็น ครั้งแรกของสมาคม ได้รับการสนับสนุนการถ่ายทอด Video Conference จากบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
แหล่งที่มาของบทความ

http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9470000051501


อาชีพเด็ด AEC : นักสำรวจ


                 แล้วก็มาถึงอาชีพฮอตอีกอาชีพหนึ่งของอาเซียนนั่นคือ นักสำรวจหรือช่างสำรวจ ก่อนอื่นต้องตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า ทนแดด ทนฝน ทนร้อน ทนหนาวได้ขนาดไหน ชอบปีนป่ายบุกป่าฝ่าดงหรือไม่ เพราะอาชีพนี้ต้องอยู่กลางแจ้งเสียเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังต้องมีความละเอียดรอบคอบ ถ้าชอบตัวเลขและชอบวัดค่าหาพิกัดล่ะก็มาเลย เพราะอาชีพนี้คือการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความละเอียดแม่นยำและเทคนิคด้าน การวัดมุม วัดระยะ วัดระดับ ลักษณะและขนาดของภูมิประเทศช่วยหาค่าพิกัดของจุดตำแหน่งต่างๆ วางหมุดหลักฐานหรือที่หมายในการสำรวจ ทำบันทึกข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่ได้จากการสำรวจ ซ่อมรับแก้เครื่องมือสำรวจ นอกจากนี้ยังต้องทำแผนที่สำรวจและแผนภูมิงานก่อสร้าง งานเหมือนแร่ ฯลฯ ซึ่งต้องลงสนามมากกว่าทำงานนั่งโต๊ะ อาชีพนี้ต้องเรียนจบมาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์สาขาอุตสาหกรรมหรือโยธาก็ได้

                  ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ Bali Concord II ซึ่งได้มีการกำหนดให้จัดทำความตกลงยอมรับร่วม (MRA) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลักภายในปี 2551 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ/แรงงานเชี่ยวชาญ/ผู้มีความ สามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ทั้งนี้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้มีการลงนามข้อตกลง MRA สาขาสถาปัตยกรรมและกรอบข้อตกลงการยอมรับในคุณสมบัติด้านการสำรวจ เมื่อปี 2550

                    MRA ในคุณสมบัติด้านการสำรวจ (Surveying  Qualifications) มีหลักการคือ กำหนดแนวทางเพื่อใช้เป็นพื้นฐาน โดยวางหลักเกณฑ์พื้นฐานประกอบด้วยหลักเกณฑ์เรื่อง การศึกษา การสอบ ประสบการณ์ กระบวนการให้การยอมรับ ระบบข้อมูลเอกสาร ระเบียบวินัยและหลักจริยธรรม มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล ในส่วนของประเทศไทยองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลการประกอบการ บริการด้านสำรวจและขึ้นทะเบียน/ออกใบอนุญาตนักสำรวจ คือ สภาวิศวกร





                      แม้จะเป็นแค่กรอบ ยังไม่ใช่ข้อตกลงยอมรับร่วมในคุณสมบัติของวิชาชีพสำรวจ แต่ก็เป็นการวางแนวทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าไปทำงานในวิชาชีพนี้ใน อนาคต เมื่อสมาชิกอาเซียนใดมีความพร้อมก็สามารถเข้าร่วมเจรจายอมรับคุณสมบัติของ กันและกันได้โดยใช้กรอบข้อตกลงเป็นพื้นฐานในการเจรจา โดยในระหว่างนี้ประเทศอาเซียนที่ยังไม่พร้อมก็สามารถศึกษากรอบข้อตกลง และใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมของตนทั้งในแง่การส่งบุคลากรออกไปและ การรับมือกับบุคลากรจากอาเซียนอาจจะเข้ามาทำงานในบ้านเรา เป็นการกำหนดแนวทางเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการเจรจาข้อตกลงยอมรับร่วมใน คุณสมบัติด้านการสำรวจในอนาคตของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาสองฝ่ายหรือหลายฝ่าย โดยวางหลักเกณฑ์พื้นฐานสำหรับการยอมรับ ซึ่งประกอบด้วยหลักเกณฑ์เรื่อง การศึกษา การสอบ ประสบการณ์ กระบวนการให้การยอมรับ ระบบข้อมูลเอกสาร ระเบียบวินัยและหลักจริยธรรม มาตรฐานและแนวปฏิบัติสากล

                       ข้อตกลง ยอมรับร่วมในคุณสมบัติด้านการสำรวจ ที่จะจัดทำขึ้นในอนาคตจะต้องไม่ลดทอนสิทธิ อำนาจ หน้าที่ของสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศในการกำกับดูแล และออกกฎ ระเบียบ หรือกฎหมายภายใน และต้องไม่สร้างอุปสรรคที่เกินจำเป็น ส่วนการออกใบอนุญาตและการขึ้นทะเบียนของนักสำรวจอาเซียนจะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบภายในของแต่ละประเทศด้วย  เพราะแต่ละประเทศก็มีหลักเกณฑ์ต่างๆ ไม่เหมือนกัน ผู้ที่ทำหน้าที่กำกับดูแล หน่วยงานที่รับผิดชอบสาขาการสำรวจก็ต่างกัน นอกจากนี้กรอบข้อตกลงได้กำหนดกรอบการดำเนินการและขอบเขตความรับผิดชอบเอาไว้ ด้วย ใครที่สนใจอยากเป็นนักสำรวจของอาเซียนสามารถเข้าไป




แหล่งที่มาของบทความ

http://kbeautifullife.askkbank.com/education/Pages/education_events_detail.aspx?TID=100

การใช้รีโมทเซนซิงในการติดตามไฟป่าในประเทศไทย


               เทคโนโลยีรีโมทเซนซิง ที่ใช้อากาศยาน คือ ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ ที่ได้ส่งขึ้นไปสำรวจจากอวกาศ และถ่ายทอดสัญญาณที่ตรวจวัดได้จากภาคพื้นดิน ไปยังสถานีรับสัญญาณ
ดาวเทียมที่ใช้ ในรูปนี้เป็นดาวเทียมรายละเอียดปานกลาง ชื่อ Terra - ใช้กล้อง MODIS ซึ่งเป็นดาวเทียมของ NASAซึ่ง สามารถประยุกต์ในการตรวจหาจุดไฟป่าที่ไหม้ในประเทศไทย (จุดสีแดงที่เห็นบนภาพดาวเทียม) โดยใช้กระบวนการสีผสม และการเลือกช่วงคลื่นที่สามารถตรวจวัดความร้อนในจุดภาพ ซึ่งแสดงผลได้ ดังรูป  
ภาพที่ถ่ายได้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2545


ภาพอ้างอิงจาก     http://earthobservatory.nasa.gov/Newsroom/NewImages/images.php3?img_id=7257

               ซึ่ง การเป็นเจ้าของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติโดยประเทศไทยเองจะทำให้เราสามารถประเมินทรัพยากรของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และรายละเอียดของภาพที่ดีกว่าดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติของไทย ที่กำลังพัฒนาอยู่ชื่อ THEOS จะส่งขึ้นไปยังอวกาศในปี 2550 นี้ โดยทีมพัฒนาของ สทอภ. และบริษัทประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ด้านอวกาศและการออกแบบอากาศยานให้กับวิศวกรไทย (ระดับปริญญาเอก) ที่จะสามารถออกแบบอากาศยานในรุ่นถัดๆ ไปได้เอง เป็นความคาดหวังของคนไทยที่จะเห็นดาวเทียมฝีมือคนไทย ในอนาคตที่ไม่ไกลนี้


แหล่งที่มาของบทความ

https://www.gotoknow.org/posts/105360

วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การเกษตรกรรมและเทคโนโลยี การสำรวจจากระยะไกล(รีโมตเซนซิง)

 



การเกษตรกรรม
          คำว่า  "เกษตรกรรม"  นั้น หมายถึง กิจกรรมต่างๆ อันรวมไปถึงการเพาะปลูก   การผลิตผลิตผลที่เก็บเกี่ยวได้จากการเพาะปลูกการดำเนินการตลาดเพื่อการขาย ผลิตผลที่ได้จากพืชและสัตว์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมจุดประสงค์หลักของการทำ การเกษตรกรรมที่ทันสมัย  ก็เพื่อให้ใช้ผืนแผ่นดินที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ  เพื่อให้ได้ผลิตผลที่มากและเพียงพอแก่ความต้องการ  และในขณะเดียวกันก็มีการป้องกันการเสื่อมโทรมของดิน  และการใช้ที่ดินอย่างผิดกฎเกณฑ์ที่ควรจะเป็น ในประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเกษตรกรรมแล้วนั้นเขาจะมีสถาบันการศึกษา และหน่วยงานของรัฐช่วยกันในการเพิ่มผลิตผล โดยมีการส่งเสริมความรู้ความสามารถในการปรับปรุงพันธุ์พืชการใส่ปุ๋ย    การกำจัดแมลง   การชลประทานการป้องกันดินพังทลาย  การปรับปรุงดิน และการขยายพันธุ์สัตว์ต่างๆ เป็นต้น
          ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและมีพืชเศรษฐกิจหลายอย่าง เช่น ข้าว  ข้าวโพด มันสำปะหลัง  อ้อย  ถั่วเหลือง  ฝ้าย  สับปะรด ถั่วเขียว  ถั่วลิสง  และผลไม้ต่างๆ  ซึ่งมีอยู่ตามภาคต่างๆ  มากน้อยแตกต่างกันไป  เนื่องจากความแตกต่างของลักษณะภูมิประเทศ   ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ  ศัตรูต่างๆ  เช่น แมลง  เชื้อรา  และอุบัติภัยทางธรรมชาติต่างๆเป็นต้น
          การที่จะบริหารทรัพยากรการเกษตรให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงนั้น  จะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง  แม่นยำ  และทันต่อเวลาโดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่กว้างขวางและมีพืช พันธุ์หลายชนิดอยู่รวมกัน  การที่จะได้ข้อมูลอย่างถูกต้องและแม่นยำจากบริเวณที่กว้างขวางนั้น  ต้องใช้วิธีการสำรวจจากระยะไกล (รีโมตเซนซิง)  ซึ่งใช้ได้ทั้งเครื่องบิน  และดาวเทียมเป็นพาหนะในการนำอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่เหมาะสมขึ้นไปบันทึก ข้อมูล ในที่นี้จะได้กล่าวถึงเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับดาวเทียมเท่านั้น

          เทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล (รีโมตเซนซิง)
          คำนิยามของ  "การสำรวจจากระยะไกลหรือ  รีโมตเซนซิง" นั้น  หมายถึง  ขบวนการที่เป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ ในการทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับวัตถุ หรือเหตุการณ์ที่อยู่ในระยะไกลออกไป จากเครื่องมือบันทึกข้อมูลโดยปราศจากการสัมผัสโดยตรงระหว่างเครื่องมือ บันทึกข้อมูลกับวัตถุหรือเหตุการณ์นั้นๆ การที่จะให้ได้มาซึ่งข้อมูลและข่าวสารดังกล่าวแล้ว  จะต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์หลายอย่างประกอบกันเข้า  เพื่อให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งเครื่องมือหรืออุปกรณ์เหล่านั้น ได้แก่  เครื่องบันทึกข้อมูล (sensors) กรรมวิธีข้อมูล  (data processing) วิธีการ และกรรมวิธีสนเทศ   การสื่อสาร   อากาศยานและยานอวกาศที่เหมาะสม  รวมไปถึงระบบการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจากอากาศยานและยานอวกาศเป็นอาทิ  ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้รวมกันเข้าเป็นวิธีการของเทคโนโลยีการสำรวจ ทรัพยากรจากระยะไกลด้วยดาวเทียม
         หลักการทำงานอย่างย่อๆ ของดาวเทียมสำรวจทรัพยากร คือ การสำรวจข้อมูลทรัพยากรจากระยะไกล ทำได้โดยอาศัยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า  ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศรอบตัวเราสำหรับเป็นพาหะในการสื่อข่าวสารเกี่ยว กับทรัพยากรต่างๆ  รวมทั้งทรัพยากรการเกษตรที่เราสนใจด้วย  วัตถุทุกอย่างในโลกมีคุณสมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้าต่างกัน เมื่อนำเครื่องมือบันทึกข้อมูลขึ้นไปกับดาวเทียม  เครื่องมือนั้นจะทำการบันทึกข้อมูลซึ่งบอกถึงลักษณะต่างๆ ของวัตถุหรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้ ข้อมูลเบื้องต้นที่ได้มาอาจอยู่ในลักษณะตัวเลข  ซึ่งบันทึกไว้ในจานแม่เหล็กหรือในรูปของภาพถ่าย  ซึ่งยังถือว่าเป็นข้อมูลดิบอยู่  จะต้องนำไปวิเคราะห์ให้ได้รายละเอียดของข่าวสาร  (สนเทศ) อย่างถูกต้องก่อน  ซึ่งทำได้ ๒ วิธี  คือ  การวิเคราะห์ด้วยสายตา  และการวิเคราะห์โดยใช้คอมพิวเตอร์ผลจากการวิเคราะห์  ไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ตามจะแสดงถึงลักษณะที่แท้จริงของพื้นที่หรือของบริเวณ ที่ทำการศึกษา   และผลจากการศึกษานี้โดยมากจะอยู่ในลักษณะแผนที่การจำแนกประเภทการใช้ที่ดิน หรือแผนที่แยกประเภททรัพยากรต่างๆ 



แหล่งที่มาของบทความ

 http://guru.sanook.com/1865/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%26/

 

ความลับของยานอวกาศ ALmaz เกี่ยวกับปี2012

             




              ปี 1990 รัฐบาลรัสเซียมีดาวเทียมโจรกรรมและสถานีอวกาศอยู่ในวงโคจร มากถึง12ดวงสถานีอวกาศ ALmaz โคจรรอบโลกในปลายยุค 90 มันคือสถานีอวกาศที่มีข่าวล้ำลือกันว่ามีภารนุภาพทางการทหารอย่างมากมาย

แหล่ง ข่าวเจ้าหน้าที่รัสเซียปฏิเสธข่าวลือนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า พฤจิกายน 1998ยานโซยูส นำส่งยานแคบซูลที่ขับเคลื่อนโดยผู้การ Boris Popovich มุ่งหน้าสู่ Almaz เพื่อส่งตัวแทนจากหน่วยงานอวกาศโลกสู่สถานีดังกล่าวเพื่อสืบข้อมูลของยาน อวกาศ ALMAZ
วันแรกหลังจากลุกเรือ ESA มาถึงสถานีอวกาศ Almaz ขาดการติดต่อจากศูยน์ควบคุมภารกิจ

              7 พฤจิกายน 1998 สถานีอวกาศ Almaz เข้าสู่บรรยากาศโลกและตกลงเหนือชนบทของแคว้นยูเครน กลุ่มนักรณรงค์ ไลออท ในรัสเซียค้นพบกล่องดำของสถานนีก่อนที่รัฐบาลรัสเซียจะอำพลางหลักฐานได้ มีแค่ส่วนน้อยของรหัสตัวเลขที่ ODLC(กล้องของยานอวกาศรับคลื่นถ่ายภาพกาแลคซี่ ทางช้างเผือก) ได้รับซึ่งผ่านการถอดรหัส ในขณะพยายามถอดรหัสข้อมูลมันได้ปล่อย VIRUS ร้ายแรงเข้าสู่ระบบเว็บไซด์ซึ่งแสดงลักษณะทั้งทางทางอิเล็กทรอนิกและทาง ชีววิทยา จากการวิเคราะห์ไวรัสนี้จะสงบนิ่งอยู่จนถึงปี 2012 เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกส่วนต้องทำหน้าที่เพื่อถอดรหัสนั้น

              ผู้ก่อ ตั้งกลุ่มไลออท Sasha Popovich Vladimir Kalashnikov เราคือกลุ่มไลออท การโค่นล่มความลับอย่างรุนแรงเครือข่ายนักรณรงค์ใต้ดินต้องการเปิดโปงรัฐบาล เราพบกล่องดำจากชนบทของยูเครนต่อหน่วยงานอวกาศรัสเซียเราใช่เวลาหลายปีกว่า จะถอดรหัสข้อมูล ที่อยู่ในhard drivesจากกล่องดำได้เราได้รับความช่วยเหลือจากอดีตผู้เชี่ยวชาญด่านอวกาศของ รัสเซียที่เชื่อในความตั้งใจของเรา

               SASHA R.อดีตวิศวกร RSA Engineer ฉันเคยทำงานให้โครงการอวกาศในโวเวียต ปี 1979-1999 ตำแหน่งวิศวกรเครื่องยนตร์ของ NSPศูนย์ควบคุมระดับ5ที่ baikonur นี่คือที่ๆเราปล่องสถานีอวกาศ ALMAZ 1,2,3,4 ที่ติดตั้งกล้อง telescope พร้อมทั้งภาพถ่ายและความสามารถในการสำรวจรังสี ฉันเคยเห็นภาพจากกล่องดำของ ALmaz 4 มาแล้วหลายครั้งก่อนที่มันจะถูกทำลายในชั้นบรรยากาศโลกมีข่าวลือมากมายของ สิ่งที่เกิดขึ้นบนยาน

                 เจ้าหน้าที่ระดับบนอ้างว่ายานถูกทำลายเพราะ แก๊สร้อนหรือความบกพร่องของแรงดันแต่เพื่อนร่วมงานของฉันรู้ดีว่ามันคือการ อำพราง ปี 1997ปัญหาคล้ายๆกันเกิดขึ้นกับ Mirมีไฟไหม้เกิดการหยุดชะงักหลายครั้งคอมพิวเตอร์ล้มเหลวมีปรากฏการณ์ที่ อธิบายไม่ได้ที่ส่งผลต่อเทคโนโลยีอวกาศปลายยุค90และจากข้อมูลที่เราศึกษามี สัญญานหรือรหัสว่าข้อความที่ALMAZ ได้รับจากแหล่งที่ไม่ทราบที่มา ไม่เหมือนกับที่ mir พบในปีก่อนซึ้งส่งผลเสียหายมากกว่า ในความเห็นของฉันและของวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์อีกมากมายข้อความ ที่ALMAZ ถูกยับยั้ง โดยเหตุบังเอิญ หรืออาจจะเป็นคำเตือน จากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ หน่วยงานในอวกาศรัสเซียรู้มาหลายปีแล้วว่าเกิดเรื่องนี้ขึ้น และในที่สุดความจริงเรื่องนี้ก็จะต้องถูกเผยแพร่ออกไป

                   Sergey เจ้าหน้าที่ควบคุมศูนย์ ผมทำงานอยู่ที่ศูยน์ควบคุมในวันที่เราขาดการติดต่อจากเจ้าหน้าที่ ALMAZตอนแรกเราคิดว่ามันเป็นปัญหาทางเทคนิคธรรมดาๆแต่หลัง6ชั่วโมงผ่านไปเรา ก็ติดต่อพวกเขาไม่ได้เรารู้ว่าจะต้องเกิดเหตุร้ายแน่ๆนานหลายชั่วโมงที่เรา เฝ้าเรียก ALMAZ ตอบด้วยแต่ก็ไม่มีการตอบกลับเรารู้ว่าสถานนีนั้นยังทำงานอยู่เราได้รับภาพ จากดาวเทียมแต่ด้วยเหตุผลไดไม่ทราบความถี่วิทยุโดนสกัดเราลองทุกอย่างแล้ว จากนั้นเราก็ได้รับไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่เป็นภาพจากภายในสถานีมีภาพหนึ่งที่ ผมเห็นคล้ายกับบางสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ อยู่บนนั้น ภาพที่ทาง MCC ได้เห็นถูก RSA เก็บไปอย่างรวดเร็ว และพวกเขาก็บอกเราว่า ไม่มีอะไร แต่ผมเห็นด้วยตาของผมเองเหตุการณ์ที่เหตุการณ์ที่อธิบายไม่ได้มันเกิดขึ้น ที่นั้นสิ่งที่เราเห็นจากภาพดาวเทียมที่ ALmaz ส่งมาหลังจากมันระเบิดในชั้นบรรยากาศโลกภาพที่มีเวลาและวันที่ระบุเอาไว้ว่า เป็นวันที่ 12 ธันวาคม ปี2012 ความหมายของมันเรายังไม่รู้ เราไม่มีกำลังเจ้าหน้าที่เทคนิคที่จะแปลข้อมูล หรือ ไขรหัสข้อมูลจำนวน 42 gigabytes ที่ยังอยู่ใน HARD DRIVES เราหวังว่าจะมีใครสักคนที่ช่วยเราได้นี่ อาจเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่จะเข้าใจชีวิตที่อยู่นอกโลก บางทีถ้าเราเข้าใจข้อมูลนี่ได้ เราอาจไขปริศนาที่ส่งผลร้ายต่อมนุษย์และเป็นทางรอดของเรา เราเชื่อว่าข้อความนี่คือคำเตือน ต่อสิ่งที่เรายังไม่รู้ แต่เราคงได้รู้แน่ ในเดือนธันวาคม ปี2012

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดตาม
http://www.blackboxtruth.com


แหล่งที่มาของบทความ
http://atcloud.com/stories/56572